เมนู

ของขันธ์ที่จุติ. บทว่า อนฺตรธานํ (ความหายไป) เป็นบทอธิบายความไม่มี
ฐานะโดยปริยายอย่างใดอย่างหนึ่งของจุติขันธ์ที่แตกทำลาย ดุจหม้อที่แตกไป
ฉะนั้น. บทว่า มจฺจุมรณํ แปลว่า มฤตยูคือความตาย มัจจุผู้กระทำซึ่งที่สุด
ชื่อว่า กาละ การกระทำของกาละนั้น ชื่อว่า กาลกิริยา (ความทำกาละ).
มรณะโดยสมมติ เป็นคำอันข้าพเจ้าแสดงแล้วเพียงเท่านี้.

ว่าด้วยนิเทศแห่งมรณะโดยปรมัตถ์


บัดนี้ เพื่อกำหนดมรณะโดยปรมัตถ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ขนฺธานํ เภโท (ความแตกแห่งขันธ์) เป็นต้น .
จริงอยู่ ว่าโดยปรมัตถ์ ขันธ์ทั้งหลายเท่านั้นย่อมแตกไป ขึ้นชื่อว่า
สัตว์ไร ๆ ย่อมตายหามีไม่ แต่เมื่อขันธ์ทั้งหลายกำลังแตก สัตว์ก็ย่อมมีโวหาร
ว่ากำลังตาย เมื่อขันธ์แตกแล้ว ก็มีโวหารว่า สัตว์ตายแล้ว ก็ในอธิการนี้
ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ด้วยอำนาจจตุโวการภพ และปัญจโวการภพ.
ความทอดทิ้งกเฬวระ (ซากศพ) ด้วยอำนาจเอกโวการภพ. อีกอย่างหนึ่ง
ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจขันธ์ 4 (จตุโวการภพ) พึงทราบ
ความทอดทิ้งซากศพไว้ ด้วยอำนาจบททั้ง 2 ที่เหลือ เพราะเหตุไร ? เพราะ
การเกิดแห่งกเฬวระ กล่าวคือรูปกาย ย่อมมีในภพแม้ทั้ง 2 อีกอย่างหนึ่ง
เพราะขันธ์ทั้งหลายในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นย่อมแตกไปอย่างเดียว ไม่มีอะไร ๆ
ต้องทอดทิ้ง ฉะนั้น ความแตกแห่งขันธ์ทั้งหลาย ย่อมมีด้วยอำนาจแห่งขันธ์
ในจาตุมหาราชิกาเป็นต้นเหล่านั้น ความทอดทิ้งซากศพ ย่อมมีในพวกมนุษย์
เป็นต้น. ก็ในนิเทศนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ความตายโดยเหตุแห่งการ
ทอดทิ้งร่างกายว่า การทิ้งซากศพ ดังนี้.